วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไข่เค็มจากตะไคร้และใบเตย(IS2)

 ไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย







                                  1. นางสาวสุธิดา  จันทร์เนียม   ชั้น ม. 4/11  เลขที่  9
                                   2. นางสาวอารียา  ธรรมนาม   ชั้น ม. 4/11  เลขที่  14
                                                             







การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2)  รหัสวิชา
โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
ภาคเรียนที่ 2     ปีการศึกษา  2556
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33












ชื่อเรื่อง                       ไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย
ผู้ศึกษา                      นาวสาวสุธิดา   จันทร์เนียมชั้น  ม.4/11  เลขที่9
                                     นางสาวอารียา   ธรรมนามชั้น ม.4/11เลขที่14
ครูที่ปรึกษา                นางรัตนา  เนื่องขันตรี
ระดับการศึกษา       นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
                                โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
รายวิชา                     การสื่อสารและการนำเสนอ ( Independent Study : IS2 )
ปีการศึกษา                 2556


















บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำผลิตภัณฑ์ในรูปของไข่เค็มกลิ่นตะไคร้และใบเตย ใบเตย นอกเหนือจากไข่เค็มแบบธรรมดาๆ ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และเป็นการถนอมอาหารในรูปแบบหนึ่ง  เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและสะดวกในการบริโภคและเพื่อพัฒนารสชาติและกลิ่นของไข่เค็มให้มีคุณภาพมาก ขึ้น อีกทั้งเพิ่มคุณค่าของไข่เค็มและสมุนไพรในท้องถิ่น
             กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์จำนวน 10คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
            เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 10 ฉบับ เรื่อง ไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตยโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ จำนวน 1 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติโดยการคิดคะแนนเฉลี่ย เป็นค่าร้อยละ
          ผลการศึกษาพบว่าไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ที่ได้ทดลองผลออกมาเมื่อทดสอบแล้วกลิ่นหอม รสชาติเค็ม  ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีกลิ่นที่หอม  เนื่องมาจากกลิ่นของใบเตยและตะไคร้และได้กลิ่นรสชาติที่แตกต่างจากไข่เค็มธรรมดา

















  กิตติกรรมประกาศ

                การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาแนะนำ ช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูรัตนา เนื่องขันตรี ครูที่ปรึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ ( is2 )  ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
                ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ ผู้ปกครองของคณะผู้ศึกษา ที่ได้กรุณาให้แนวคิดต่างๆ
ข้อแนะนำหลายประการ ทำให้งานวิจัยฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
                สุดท้ายขอขอบคุณ คุณครูรัตนา  เนื่องขันตรี ที่ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็วและขอขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลืออีกหลายท่าน ซึ่งไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ได้หมด

                                                                                                                                                                คณะผู้ศึกษา
                                                                                                                                                           มกราคม 2557

















สารบัญ                                                                                                                               
                                                                                                                                               หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                    ก
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                        ข
สารบัญ                                                                                                                                       ค
สารบัญตาราง                                                                                                                            ฉ
สารบัญภาพ                                                                                                                                 ช

บทที่ 1   บทนำ                                                                                                                           1
                ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                                                                       1
                วัตถุประสงค์ของการศึกษา                                                                                           1
                สมมติฐานของการศึกษา                                                                                               1
                ขอบเขตของการศึกษา                                                                                                1
                นิยามศัพท์เฉพาะ                                                                                                        2
                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                         2          
             บรรณานุกรม                                                                                                            3   
บทที่ 2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                                                  4
              ไข่เค็ม                                                                                                                      4
               ตะไคร้                                                                                                                    4
              ใบเตย                                                                                                                      5
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา                                                                                                   7
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา                                                                                                 7
                ประชากรที่ใช้ในการศึกษา                                                                                     7
             วิธีดำเนินการ                                                                                                           8
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา                                                                                      9
                                การเก็บรวบรวมข้อมูล                                                                                          10
                การวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                               10
                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                            10
บทที่ 4   ผลการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                          11
              ตารางแสดงผลระดับคะแนนการประเมินไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย       11               
บทที่5    สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ                                                                 12
             วัตถุประสงค์ของการศึกษา                                                                                  12
             สมมติฐานของการศึกษา                                                                                      12
             ขอบเขตของการศึกษา                                                                                          12
             ระยะเวลา                                                                                                              12
             เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา                                                                                    13
             การวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                13
             สรุปผลการศึกษา                                                                                                  13
             การอภิปรายผล                                                                                                     13
             ข้อเสนอแนะ                                                                                                         13
             ภาคผนวก                                                                                                             14
            แบบสอบถาม                                                                                                        18
            ประวัติผู้ศึกษา                                                                                                       19















สารบัญตาราง
                                                                                                                                          หน้า
             ตารางแสดงผลระดับคะแนนการประเมินไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย        11
















สารบัญภาพ
                                                                                                                                          หน้า
ภาพที่ 1 ล้างไข่เป็ดให้สะอาดวางเรียงในภาชนะไว้ให้แห้ง                                                 8
ภาพที่ 2 ล้างทำความสะอาดใบเตย                                                                                      8
ภาพที่ 3 ล้างทำความสะอาดตะไคร้                                                                                     8
ภาพที่ 4 นำใบเตยมาหั่น                                                                                                      8
ภาพที่ 5 นำตะไคร้มาหั่น                                                                                                    8
ภาพที่ 6 ปั่นใบเตย 5 กรัมกับน้ำสะอาด                                                                             9
ภาพที่ 7 ปั่นตะไคร้ 5 กรัมกับน้ำสะอาด                                                                            9
ภาพที่ 8 เทใส่ลงในไข่เป็ดที่วางเรียงอยู่ในภาชนะที่บรรจุไข่ไว้                                       9












บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันไข่เค็มเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นานและเป็นอาหารที่สามารถกินได้ทุกเพศทุกวัยเพราะไข่เค็มนั้น สามารถรับประทานได้ง่ายและทานได้ในทุกสภาวะของบ้านเรา ไม่ว่าจะทานกับข้าวต้ม ข้าวสวย หรือจะนำไปทำเป็นกับข้าวก็ได้  เช่น ยำไข่เค็ม ผัดขิงไข่เค็ม  ผัดพริกเผาไข่แดง(ใช้ไข่แดงจากไข่เค็ม) ส้มตำไข่เค็ม และ ผัดน้ำพริกลงเรือไข่เค็ม  เป็นต้น เพราะไข่เค็มนั้นหารับประทานได้ง่าย และยังผลิตได้ง่ายอีกด้วย แต่ไข่เค็มชุมชนและท้องตลาดมีกลิ่นของไข่เค็มแบบธรรมดา  จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาไข่เค็มให้มีกลิ่นที่หอมที่แปลกใหม่กว่าตามท้องตลาด
   ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการทำไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตยเพื่อพัฒนาไข่เค็มให้มีกลิ่นหอมของตะไคร้และใบเตย
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อเพิ่มคุณค่าของไข่เค็มและสมุนไพรในท้องถิ่น
2.เพื่อพัฒนากลิ่นของไข่เค็มให้มีคุณค่ามากขึ้น
สมมติฐานของการศึกษา
1. ไข่เค็มจะมีรสเค็มภายในระยะเวลา 7-14 วัน
2. ไข่เค็มจะมีกลิ่นของตะไคร้และใบเตย
    ขอบเขตของการศึกษา
1.               ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
          จำนวน  1 ห้องเรียน  เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 10 คน
2.               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2556   จำนวน 10  คน 
3.               เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
            เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาคือ ไข่เค็มกลิ่นตะไคร้และใบเตย
ระยะเวลา
           ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ธันวาคม 2556  ถึงวันที่  24 มกราคม 2556

นิยามศัพท์เฉพาะ
   การถนอมอาหาร หมายถึง การรักษาอายุธรรมชาติและสีสันของอาหารซึ่งเกิดจากการปรุงอาหาร การถนอมอาหารโดยการดองเป็นการถนอมอาหารแบบหนึ่งในความเข้มข้นของเกลือ น้ำตาลควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดหลิกติคและป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่า การถนอมอาหารนี้ใช้กับผัก ผลไม้และไข่
ตะไคร้ หมายถึง พืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
ใบเตย หมายถึง พืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม บริเวณกลางใบเป็นร่อง ขอบใบเรียบตรง ผิวใบเป็นมัน ด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือใบ มีกลิ่นหอม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง
2. เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
3.สามารถทำเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้แก่ผู้ทำ

   บรรณานุกรม
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
“ไข่เค็มสมุนไพรใบเตย” [ออนไลน์ ]เข้าถึงได้จาก ( ม.ป.ป.)www.smtech.ac.th/pdf/1384945869.pdf  สืบค้น 25 ธันวาคม 2556

             “วิธีการทำไข่เค็มให้อร่อย” [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก (ม.ป.ป.)  
สืบค้น 28 ธันวาคม 2556

                    “การถนอมอาหาร” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก (ม.ป.ป.)
สืบค้น 28 ธันวาคม 2556












บทที่ 2
                                        เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

       การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆดังนี้
       ไข่เค็ม
      ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ไข่เป็นอาหารหลักของคนไทยมานานแล้ว ไข่จึงมีมากมายตามท้องตลาดและสามารถทำเป็นอาหารได้หลายอย่างอีกด้วยจึงมีการคิดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่ธรรมดาเป็นไข่เค็มโดยวิธีการดอง และการทำไข่เค็มเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง(จึงเหมาะที่จะส่งเสริมการทำไข่เค็มให้เป็นที่แพร่หลาย สำหรับบุคคลและชุมชนต่างๆการผลิตไข่เค็มถือเป็นเทคโนโลยีชาวบ้านวิธีหนึ่ง ที่ทำมานานจนถึงทุกวันนี้  ต่อมาความนิยมในการบริโภคไข่เค็มมีมากขึ้นจนพัฒนาจากการบริโภคในครัวเรือน มาเป็นผลิตภัณฑ์ในการค้า ตลอดจนใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆปัญหาของการผลิตไข่เค็มเพื่อการค้าในผลิตภัณฑ์ คือ ไข่เค็มที่มีคุณภาพไม่ค่อยสม่ำเสมอ เช่น การดองด้วยน้ำส้มสายชูที่ทำให้เปลือกไข่บางลงได้เพราะเป็นสารเคมี ประเภทกรดอินทรีย์ หรือการดองไข่เค็มโดยใช้ใบเตยเพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่นของใบเตยในไข่เค็ม เพราะฉะนั้นเป็นการดองไข่เค็มโดยใช้สารประกอบต่างๆ จึงทำให้กลิ่น สีสัน และ รสชาติ คุณภาพแตกต่างกันไปด้วย
          ตะไคร้
     ตะไคร้ มีถื่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย ตะไคร้ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ส่วนชื่อตะไคร้ภาษาอังกฤษจะ ใช้คำว่า Lemongrass จัดเป็นพิชล้มลุก ใบเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นพืชตระกูลหญ้า
     ตะไคร้จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา
     ตะไคร้ เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยประโยชน์ของตะไคร้และสรรพคุณของตะไคร้นั้นมีมากมาย สรรพคุณตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น
     สรรพคุณของตะไคร้ มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น) สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด) ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก) น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้ สามารถบรรเทาอาการปวดได้ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด) ใช้เป็นยาแก้อาเจียน หากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ (หัวตะไคร้) ช่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้) รักษาโรคหอบหืด ด้วยการใช้ต้นตะไคร้ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก) ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก) ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้) ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้ มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการ และรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้) ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้) ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น) ช่วยรักษาอหิวาตกโรค ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้) ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้) น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
ใบเตย
      ใบเตยเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ทั้งหอมและดีต่อร่างกาย ในเตยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปบ้างในท้องถิ่นต่างๆ เช่น คนท้องถิ่นในจังหวัดระนองเรียกใบเตยว่า ใบส้มม่า ชาวจังหวัดตากเรียกว่า ส้มตะเลงเครง ชาวเงี้ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า ส้มปู ผู้คนในภาคอีสานเรียกว่า ส้มพอดี หรือผักเก็งเค็ง เป็นต้น
   สารสำคัญในใบเตยประกอบไปด้วยสารไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl Acetate), เบนซิลอะซีเตท (Benzyl Acetate), ไลนาโลออล (Linalool), เจอรานิออล (Geraniol) และมีสารหอมคูมาลิน (Coumarin) และเอททิลวานิลลิน (Ethyl Vanilin) นอกจากนี้ใบเตยยังมีสารคลอโรฟิลล์ ช่วยขจัดสารพิษ และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ
     สรรพคุณใบเตยมีประโยชน์หลายส่วน เช่น ใบเตยนิยมนำมาต้มเป็นเครื่องดื่มเพื่อบำรุงหัวใจ ดื่มแล้วรู้สึกชุ่มชื่น ดับกระหาย ในกลุ่มผู้ป่วยดื่มเพื่อบำรุงกำลัง หรือนำใบเตยมาตำและพอกรักษาโรคผิวหนัง ลำต้นและรากนิยมใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ โดยการนำรากจำนวนครึ่งกำมือมาต้มดื่มเป็นต้น
  นอกจากนี้สีเขียวและกลิ่นหอมของใบเตยยังทำให้ผู้คนนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเป็นสีผสมอาหาร ช่วยให้อาหารมีสีเขียวสวยและหอมน่าทานมากยิ่งขึ้น
  นอกจากนี้ใบเตยยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอีกหลายชนิด โดยใบเตยหอม 100 กรัมนั้นจะมีเบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม, วิตามินซี 8 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม,ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม, โปรตีน 1.9 กรัม และให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี !
ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยทุกคนต่างก็รู้จักกันดี เนื่องจากมีการนำมาใช้กันอย่างหลากหลายตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาปรุงแต่งอาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และยังให้สีสันน่ารับประทานอีกด้วย











บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา ไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย
ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา
                ในการศึกษาใช้รูปแบบการสืบค้นข้อมูล อินเตอร์เน็ต และตอบแบบสอบถาม
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
1.             ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11
โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 คน

2.             กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 10 คน  เพื่อตอบแบบประเมินความพึงพอใจที่สร้างขึ้น

3.             ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
                                ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
วิธีดำเนินการ
  1. วิธีการ
        1.1 การออกแบบการศึกษา
        1.2 จัดหาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์
        1.3 ทำการศึกษา
        1.4 บันทึกผลการศึกษา
        1.5 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ไว้ในรูปแบบตาราง แล้วทำการแปรผล
        1.6 เขียนสรุปผลการศึกษา
   2. วัสดุ
        2.1 ไข่เป็ด       10  ฟอง
        2.2 ใบเตย         5   กรัม
        2.3 ตะไคร้        5   กรัม
        2.4 เกลือ           2   ถุง
        2.5 น้ำสะอาด   5   ลิตร
   3. เครื่องมือและอุปกรณ์
        3.1 ขวดโหล   2 ใบ
        3.2 หม้อต้ม     1 ใบ
        3.3 เตาไฟ       1 ใบ
        3.4 เครื่องปั่น 1 เครื่อง
        3.5 มีด           1 เล่ม
        3.6 เขียง        1 อัน
  4. วิธีปฏิบัติ
        4.1 ล้างไข่เป็ดให้สะอาดวางเรียงในภาชนะไว้ให้แห้ง
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 11.10.55.jpg

        4.2 ล้างทำความสะอาดใบเตยและตะไคร้
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 10.55.09.jpg        คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 11.00.30.jpg
        4.3 นำใบเตยและตะไคร้มาหั่น
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.16.39.jpg        คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.07.43.jpg

        4.4               ปั่นใบเตย 5 กรัมกับน้ำสะอาด และตะไคร้ 5 กรัมกับน้ำสะอาด
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.28.33.jpg                คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.41.42.jpg
        4.5 เทใส่ลงในไข่เป็ดที่วางเรียงอยู่ในภาชนะที่บรรจุไข่ไว้ โดยไม่ต้องกรองเพื่อเอากากตะไคร้และใบเตยออก
                คำอธิบาย: C:\Users\asus\Documents\Bluetooth Folder\2014-01-12 09.47.50.jpg

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                       เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ฉบับ ให้กับผู้ทดสอบ 10  คน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                  1.  ออกแบบประเมินความพึงพอใจ เรื่อง การทดสอบชิมไข่เค็มตะไคร้และใบเตยโดยการประเมินความพึงพอใจนี้ แบ่งเกณฑ์ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
                                  8 – 10   ชอบ
5 – 7     ปานกลาง
0 – 4     ไม่ชอบ
การพิจารณาค่าเฉลี่ย จะใช้เกณฑ์ดังนี้
                                  8 – 10   ชอบ
5 – 7     ปานกลาง
0 – 4     ไม่ชอบ
                   2.  สร้างแบบประเมินความพึงพอใจ เรื่อง การทดสอบชิมไข่เค็มตะไคร้และใบเตย จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปตรวจสอบความเหมาะสม                    
                   3. นำแบบสอบถามเรื่อง การทดสอบชิมไข่เค็มตะไคร้และใบเตย ที่แก้ไขปรับปรุงแล้วให้กลุ่ม
ตัวอย่างประเมิน หลังจากนั้นนำผลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
                               
การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการโดยนำแบบประเมินความพึงพอใจที่สร้างขึ้นให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้ศึกษาทั้ง 2  คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

การวิเคราะห์ข้อมูล
                ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1.        นำแบบประเมินความพึงพอใจทั้งหมดที่ตอบโดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมาหาค่าคะแนนรวม
2.        นำผลรวมมาคิดค่าร้อยละ

สถิติที่ใช้ในการศึกษา
                สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ การหาค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ
















บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ได้ผลดังนี้
               
ตารางที่ 1 แสดงผลระดับคะแนนการประเมินไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย
นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 จำนวน 10 คน

คนที่
ระดับการประเมิน
ชอบ (8-10คะแนน)
ปานกลาง (5-7 คะแนน)
ไม่ชอบ (0-4 คะแนน)
1
8


2

7

3

7

4

7

5

7

6
8


7
8


8
8


9
9


10
9











บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อเพิ่มคุณค่าของไข่เค็มและสมุนไพรในท้องถิ่น
2.เพื่อพัฒนากลิ่นของไข่เค็มให้มีคุณค่ามากขึ้น
สมมติฐานของการศึกษา
1. ไข่เค็มจะมีรสเค็มภายในระยะเวลา 7-14 วัน
2. ไข่เค็มจะมีกลิ่นของตะไคร้และใบเตย
    ขอบเขตของการศึกษา
1.               ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
          จำนวน  1 ห้องเรียน  เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 10 คน
2.               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2556   จำนวน 10  คน 
3.               เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
            เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาคือการทำไข่เค็มไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย
 ระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ตั้งแต่ ธันวาคม 2556  ถึง
       มกราคม 2557


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 10 ฉบับ เรื่อง ไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตยโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ จำนวน 1 ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูล
                      ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่มีต่อไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตยโดยการคิดคะแนนเฉลี่ย เป็นค่าร้อยละ

สรุปผลการศึกษา
                   ผลการศึกษาที่มีต่อการศึกษาเรื่องไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย อยู่ในระดับคุณภาพ..............
( นำคำตอบจากบทที่ 4   ตารางที่ 2 มาตอบ  เช่น  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง )

การอภิปรายผล
                จากการศึกษาไข่เค็มตะไคร้และใบเตยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  พบว่า นักเรียนทุกคนมี ความพึงพอใจ
อยู่ในระดับ................คิดเป็นร้อยละ..............................

ข้อเสนอแนะ
                ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้

        การผลิตไข่เค็มใบเตย นอกจากใบเตยแล้ว ถ้ามีการค้นคว้าเพื่อเพิ่มคุณภาพมากกว่านี้เช่น คุณภาพด้านสี และ กลิ่น จะสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าในเชิงอุตสหกรรมได้








ภาพผนวก


















ภาคผนวก ก. ตาราง

ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลระดับคะแนนการประเมินไข่เค็มจากกลิ่นตะไคร้และใบเตย
คนที่
ระดับการประเมิน
ชอบ (8-10คะแนน)
ปานกลาง (5-7 คะแนน)
ไม่ชอบ (0-4 คะแนน)
1
8


2

7

3

7

4

7

5

7

6
8


7
8


8
8


9
9


10
9


เฉลี่ย
8.3
7

เฉลี่ยรวม
7.6

ตารางที่ 2 ตารางบันทึกผลการทดลอง
วัน/เดือน/ปี
รายการ
ผลการวิเคราะห์
กลิ่น
รสชาติ / ความเค็ม

10 พฤศจิกายน 2556
ใบเตย
P
ตะไคร้
P

17 พฤศจิกายน 2556
ใบเตย
P
P
ตะไคร้
P
P
 
    24 พฤศจิกายน 2556
ใบเตย
P
P
ตะไคร้
P
P

ภาคผนวก ข. รูปภาพ

        ภาพที่ 1 ล้างไข่เป็ดให้สะอาดวางเรียงในภาชนะไว้ให้แห้ง
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 11.10.55.jpg

        ภาพที่ 2 ล้างทำความสะอาดใบเตย
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 10.55.09.jpg      

        ภาพที่ 3 ล้างทำความสะอาดตะไคร้
                คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 11.00.30.jpg

        ภาพที่ 4 นำใบเตยมาหั่น
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.16.39.jpg   

        ภาพที่ 5 นำตะไคร้มาหั่น
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.07.43.jpg

        ภาพที่ 6 ปั่นใบเตย 5 กรัมกับน้ำสะอาด
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.28.33.jpg

        ภาพที่ 7 ตะไคร้ 5 กรัมกับน้ำสะอาด
                 คำอธิบาย: E:\รูปทำไข่เค็มใบเตยและตะไคร้\2014-01-04 13.41.42.jpg

        ภาพที่ 8 เทใส่ลงในไข่เป็ดที่วางเรียงอยู่ในภาชนะที่บรรจุไข่ไว้                     
            คำอธิบาย: C:\Users\asus\Documents\Bluetooth Folder\2014-01-12 09.47.50.jpg
แบบสอบถาม
แบบสอบถามความหลังจากทดสอบชิมไข่เค็มใบเตยและตะไคร้
1. เพศ
   ชาย
   หญิง
2.อายุ
   13-15 ปี
   16-20 ปี
   21 ปีขึ้นไป
การให้คะแนนความพึงพอใจ
                          คะแนนเต็ม 10

     8-10 มีความพึงพอใจมาก   7-5 มีความพึงพอใจปานกลาง   4-0 มีความพึงพอใจน้อย
มีรสชาติและกลิ่นของใบเตยและตะไคร้หรือไม่ อย่างไร.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

สิ่งที่ควรปรับปรุง / ข้อเสนอแนะ....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ – นามสกุล                     นางสาวสุธิดา  จันทร์เนียม
วัน เดือน ปี  สถานที่เกิด    22  สิงหาคม 2540
                                                เกิดที่ โรงพยาบาลท่าตูม ต.ท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
ประวัติการศึกษา                 จบประถมศึกษา โรงเรียนท่าตูมสนิทราษฏร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2552
                                               จบมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  ปีการศึกษา 2555 
                                               ปัจจุบัน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  

ชื่อ – นามสกุล                    นางสาวอารียา  ธรรมนาม
วัน เดือน ปี  สถานที่เกิด   2  กันยายน  2540
                                              เกิดที่ โรงพยาบาลท่าตูม ต.ท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
ประวัติการศึกษา                จบประถมศึกษา โรงเรียนท่าตูมสนิทราษฏร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2552
                                             จบมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  ปีการศึกษา 2555 
                                              ปัจจุบัน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์